หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2567)

ข้อมูลหลักสูตร
  1. รหัสและชื่อหลักสูตร
    รหัสหลักสูตร : 
    ภาษาไทย : รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2567)
    ภาษาอังกฤษ : Doctor of Political Science Program in Political Science
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐศาสตร์)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ร.ด. (รัฐศาสตร์)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Political Science (Political Science)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : D.Pol.Sc. (Political Science)
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ไม่มี
  1. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    แผน 1.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
    แผน 2.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
  2. รูปแบบของหลักสูตร 
    หลักสูตรปริญญาเอกทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตร 3 ปี
  3. ประเภทของหลักสูตร
    หลักสูตรปริญญาเอก แผน 1.1 เน้นการวิจัยเพื่อพัฒนานักวิชาการชั้นสูง
    หลักสูตรปริญญาเอก แผน 2.1 เน้นการวิจัยเพื่อพัฒนานักวิชาชีพชั้นสูง
  4. ภาษาที่ใช้
    หลักสูตรจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในการเรียนการสอน เอกสาร สื่อ และตำราเรียนในรายวิชาของหลักสูตรมีทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  5. การรับเข้าศึกษา
    รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้
  6. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    ไม่มี (เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ)
  7. การให้ปริญญาแก่ผู้สาเร็จการศึกษา
    ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

จุดเด่น

หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2567) เป็น
หลักสูตรที่มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจวิชาการทางรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา มีคุณธรรม จริยธรรมและมีจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่ของนักรัฐศาสตร์ มีทักษะของนักปกครองตามหลักธรรมาภิบาล สามารถพัฒนางาน พัฒนาอาชีพหรือวิชาการ พัฒนาตนและพัฒนาสังคมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในยุคดิจิทัล โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมทางพระพุทธศาสนาตามรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตร รวมทั ้งมีการบรรยายรายวิชาทั ้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษทบทวน ส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษด้วยการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ในหลักสูตร


คุณสมบัติผู้สมัคร
  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง ในกรณีที ่เป็นนักศึกษาจากต่างประเทศจะต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่ ก.พ.
  • รับรองหรือคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยเห็นชอบ และคุณสมบัติอื่น ๆ ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป
  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 แต้ม หรือเทียบเท่า ในกรณีที่ขาดคุณสมบัติดังกล่าว คณะกรรมการบัณฑิตวิทยาลัยอาจพิจารณารับ
  • สมัครได้โดยพิจารณาจากผลงานทางวิชาการ ประสบการณ์การทำงาน ความรู้ และความสามารถสำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์และพุทธศาสตร์ ต้องศึกษารายวิชา
  • ปรับพื้นฐานไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต หรือตามเหมาะสมโดยให้ยึดมติคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเป็นที่สิ้นสุด
  • ต้องไม่เคยถูกลงโทษให้พ้นจากสถานภาพการเป็นนักศึกษาจากสถาบันการศึกษา หรือมีบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม
  • คุณสมบัติ นอกเหนือจากข้อ 1-5 ให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หรือคณะ/สาขาวิชา หรือการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรอย่างเอกฉันท์

จบแล้วทำอาชีพอะไร
  • ข้าราชการ ในหน่วยงานภาครัฐ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ (ปลัดอำเภอ) นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ นักวิชาการศาสนา
  • ปฏิบัติการ นักการทูตปฏิบัติการ อาจารย์ในสถานศึกษา นักวิชาการศึกษา นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักทรัพยากรบุคคล ตำรวจ ทหาร
  • เจ้าหน้าที่ในองค์การภาคเอกชน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที ่วิเคราะห์นโยบายและแผน
  • เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรมนุษย์
  • เจ้าพนักงานในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน และองค์การไม่แสวงหาผลกำไร
  • นักการเมืองระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ
  • ประกอบอาชีพอิสระที่นำความรู้ ความสามารถทางรัฐศาสตร์ไปประกอบอาชีพอิสระได้

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Scroll to Top