ข้อมูลพื้นฐาน

๑. ชื่อสถานศึกษา

ภาษาไทย

         มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

ภาษาอังกฤษ

         Mahamakutbuddhist University Yasothon Buddhist College

๒. ที่ตั้ง/สถานที่ติดต่อ

สถานที่ตั้งเดิม

        เลขที่ ๑ วัดศรีธรรมาราม ถนนวิทยะธำรงค์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ๓๕๐๐๐ 

        โทร. ๐-๔๕๗๑-๑๐๕๖  เว็ปไซต์  www.ybc.ac.th

สถานที่ตั้งแห่งใหม่

        เลขที่  ๑๗๔ หมู่ ๓ ต.ทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ๓๕๐๐๐ โทร. ๐-๔๕๗๑-๑๐๕๖  เว็ปไซต์  www.ybc.ac.th

๓. ประวัติความเป็นมา

    วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร เป็นวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ในกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท  พร้อมทั้งหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตร้อยเอ็ด เสนอขออนุมัติจัดตั้งวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธรต่อสภามหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมีพระราชธรรมานุวัตร (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระประภัสสรมุนี) เป็นรองอธิการบดีวิทยาเขตร้อยเอ็ด จากมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที๓/๒๕๔๑ วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๑ อนุมัติจัดตั้ง “ศูนย์ยโสธร” มีฐานะเป็นห้องเรียนหนึ่งของวิทยาเขตร้อยเอ็ด โดยมีพระครูศรีวิริยโสภณ เป็นหัวหน้าศูนย์ รูปแรก (พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๕๐) 

    วันที่ ๒๒  พฤษภาคม ๒๕๔๑ วิทยาเขตร้อยเอ็ด ได้เปิดทำการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี และหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ณ  วัดศรีธรรมาราม (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองยโสธร  จังหวัดยโสธร โดยใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ศูนย์ยโสธร” โดยความอนุเคราะห์ของพระเทพสังวรญาณ (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชธรรมสุธี) เจ้าอาวาสวัดศรีธรรมารามและรองเจ้าคณะภาค ๑๐ (ธ) เป็นปฐมาจารย์และองค์อุปถัมภ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ วิทยาเขตร้อยเอ็ด ได้ดำเนินเปิดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตรศาสนศาสตร-มหาบัณฑิต (ปริญญาโท) สาขาวิชา รัฐศาสตร์การปกครองและในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้เปิดสาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา  และสาขาวิชาการจัดการศึกษา  โดยมีศูนย์การศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย ประจำศูนย์ยโสธรเป็นผู้ดูแล

    ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ออกข้อกำหนดว่าด้วยการจัดตั้งส่วนงาน (ฉบับที่ ๓) โดยอาศัยอำนาจตามความมาตรา ๘ และ มาตรา ๙ วรรคแรก และมาตรา ๑๙ (๒) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ และมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ที่ ๒๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่  ๒๗  เมษายน  ๒๕๕๐ ให้ตราข้อกำหนดไว้ในข้อ ๔ ไว้ว่า “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีส่วนงานเพิ่มเติม คือ วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร”

    วันที่ ๒๖ ตุลาคม  ๒๕๕๐ สำนักงานอธิการบดี ได้แจ้งคำสั่งมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการจัดตั้งส่วนงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม  ๑๒๔ ตอนพิเศษ ๙๖ ง  ลงวันที่ ๑๔  สิงหาคม  ๒๕๕๐  และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  ๑๕  สิงหาคม  ๒๕๕๐ และแต่งตั้งให้ พระราชปริยัติวิมล (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุทธิสารโสภณ) รองอธิการบดีวิทยาเขตร้อยเอ็ด เป็นรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร เป็นรูปแรก

    ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๖)  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร ได้เปิดทำการเรียนการสอน หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี) มีรายละเอียดดังนี้

    ๓.๑. คณะศาสนาและปรัชญา

            -สาขาวิชาศาสนา ปรัชญาและวัฒนธรรม

    ๓.๒. คณะสังคมศาสตร์

            -สาขาวิชาการปกครอง

    ๓.๓. คณะศึกษาศาสตร์

            -สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

๔. ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์และพันธกิจ

      ปรัชญา  (Philosophy)

“ความเป็นเลิศทางวิชาการ   ตามแนวพระพุทธศาสนา”

Academic  Excellence  based   on  Buddhism

      ปณิธาน  (Aspiration)

“มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตทางพระพุทธศาสนาให้เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรมมีความรู้ความสามารถในการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณธรรมสู่สังคมไทย”

      นโยบาย  (Policy)

วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร  มีนโยบายในด้านดำเนินงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ  ดังนี้

      ๔.๑ ผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้  ความสามารถ  ด้านวิชากรทางพระพุทธศาสนา  ถึงพร้อมด้วยความประพฤติที่ดีงามเพื่อให้ตรงตามคติพจน์และปรัชญาของวิทยาลัยพร้อมทั้งขยายโอกาสให้พระภิกษุ-สามเณรและประชาชนในท้องถิ่นที่มีความสนใจได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษามากยิ่งขึ้น

      ๔.๒ สร้างเสริมให้บริการด้านวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่ชุมชนท้องถิ่นและสังคมเพื่อไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตอันจะนำมาซึ่งสันติสุขแก่ตนเองและสังคม สามารถนำพาสังคมสร้างความสามัคคีและสร้างความเข้าใจร่วมกันในกรณีเกิดข้อขัดแย้งด้านวิชาการทางพระพุทธศาสนา

     ๔.๓ ส่งเสริมพัฒนาด้านวิชาการและงานวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ทางพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น

     ๔.๔ ปรับปรุงแก้ไขการบริหารการจัดการของวิทยาลัยให้เป็นระบบตรงตามมาตรฐานสากล

     ๔.๕ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

๕. คติพจน์วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

        สามัคคี  กตัญญู  รู้หน้าที่  มีวินัย  ใส่ใจบำเพ็ญประโยชน์

๖. ศาสนสุภาษิตวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

      “ปญฺญา นรานํ รตนํ.  ปัญญาเป็นรัตนะของนรชนฯ ”

๗. สีประจำวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

      “สีฟ้า”

๘. ต้นไม้ประจำวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

       “ต้นพิกุล”  

๙. พระพุทธรูปประจำวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

       “พระพุทธรูปปางนาคปรก”  

๐. วัตถุประสงค์หลักวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

       ๑๐.๑  ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ  ทั้งด้านความรู้และความประพฤติ

       ๑๐.๒ สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความรู้คู่คุณธรรม

       ๑๐.๓  สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และวิจัย

       ๑๐.๔  สร้างสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการสมานฉันท์ให้อภัยซึ่งกันและกันปรองดองกัน

       ๑๐.๕  สร้างระบบบริหารองค์การให้เป็นองค์การที่มีมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของสังคมและนำไปสู่ความสู่ความเป็นสากล

๑๑. ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

๑๒. เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิตอัตลักษณ์และเอกลักษณ์

         อัตลักษณ์  :  “บัณฑิตมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ”

         เอกลักษณ์:  “บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่สังคมในระดับชาติหรือนานาชาติ”

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Scroll to Top